วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยุคของคอมพิวเตอร์
 
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1

อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)

 มาร์ค วัน



  อินิแอค



 ยูนิแวค



คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
 คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง

      












คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง

 
  










คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง






วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติคอมพิวเตอร์

Charles Babbage – ได้ทำการออกแบบเครื่อง(Difference Engine) เมื่อปี ค..1822 ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนและคำอนุญาตจากรัฐบาลเมื่อปี ค.ศ.1823 แต่การสร้างก็ไม่สมบูรณ์แบบ เหตุผลหนึ่งที่ตัดสินใจหยุดโครงการพัฒนาเครื่อง Difference Engine เนื่องจากได้ค้นพบว่ามีความไม่น่าเชื่อถือบางประการ จนกระทั่งต่อมา แบบแบจก็ได้ทำการพัฒนาเครื่องใหม่ภายใต้ชื่อว่า Analytical Engine ซึ่งประกอบไปด้วยสถานะหน่วยความจำที่สามารถจัดเก็บตัวเลขและนำไปคำนวณได้ ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องดังกล่าวยังสามารถพิมพ์ข้อมูลได้อัตมัติ สามารถนำเข้าข้อมูลด้วยบัตรเจาะรูและใช้ชุดคำสั่งในการควบคุมเครื่อง Analytical Engine นี้ยังมีฟังก์ชันหน้าที่หลายๆอย่างเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ดังนั้นแบบแบจจึงถูกขนานนามให้เป็น บิดาแห่งคอมพิวเตอร์เป็นต้นมา

Lady Augusta Ada Byron – เธอเป็นสตรีคนสำคัญคนหนึ่งที่ช่วยออกแบบเครื่องของแบบแบจ อีกทั้งยังได้เสนอแนวคิดและเป็นผู้เขียนโปรแกรมชิ้นแรกเพื่อใช้กับเครื่องดังกล่าว ต่อมาเธอก็ได้ถูกขนานนามให้เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก นอกจากนี้ก็ยังได้มีการตั้งชื่อภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งด้วยการใช้ชื่อของเธอ นั่นก็คือ ภาษาเอด้า นั่นเอง



Herma, Hollerith – ในปี ค.ศ.1887 เฮอร์แมน ฮอลเลอริธ ได้การพัฒนาเครื่อง Tabulating Machines ขึ้น ซึ่งใช้กับบัตรเจาะรู สามารถจัดเรียงบัตรมากกว่า200ใบต่อนาที และก็ได้นำมาใช้งานสำรวจสำมะโนประชากรของอเมริกันหลายครั้งด้วยกัน และต่อมาในปี ค.ศ.1896 เฮอร์แมนก็ได้ทำการก่อตั้งบริษัทต้นเองขึ้นมาภายใต้ชื่อว่า The Tabulating Machine Company และอีกไม่นานก็ได้ทำการรวบรวมบริษัทกว่า 10 แห่งด้วยกันและก่อตั้งบริษัทใหม่ภายใต้ชื่อว่า International Business Machines ซึ่งในปัจจุบันก็คือบริษัทคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงทั่วโลกซึ่งก็คือบริษัท IBM นั่นเอง


Alan Turing - แอลัน ทัวริง พ.ศ. 2455-2497) บิดาแห่งวงการคอมพิวเตอร์แอลัน แมททิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing) (23 มิถุนายน ค.ศ. 1912 (พ.ศ. 2455) – 7 มิถุนายน ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497)) เป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยา และวีรบุรุษสงคราม ชาวอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์  เขาได้สร้างรูปแบบที่เป็นทางการทางคณิตศาสตร์ของการระบุอัลกอริทึมและการคำนวณ โดยใช้เครื่องจักรทัวริง ซึ่งตามข้อปัญหาเชิร์ช-ทัวริงได้กล่าวว่าเป็นรูปแบบของเครื่องจักรคำนวณเชิงกลที่ครอบคลุมทุกๆรูปแบบที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ


Konrad Zuse – คอนราด Zuse จาก 1941 ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของการทำงานที่สามารถโปรแกรมได้เครื่องคอมพิวเตอร์อัตโนมัติเต็มรูปแบบที่ทันสมัย Thus, Zuse is often regarded as the inventor of the computer . [ 1 ] [ 2 ] [ 3 ] [ 4 ] ดังนั้น Zuse มักถูกมองว่าเป็นนักประดิษฐ์ของคอมพิวเตอร์ก่อนที่การพัฒนาของคอมพิวเตอร์วัตถุประสงค์ทั่วไปการคำนวณส่วนใหญ่ถูกทำโดยมนุษย์ Mechanical tools to help humans with digital calculations were then called "calculating machines", by proprietary names, or even as they are now, calculators . เครื่องกลเครื่องมือที่จะช่วยให้มนุษย์มีการคำนวณดิจิตอลถูกแล้วเรียกว่า "เครื่องคำนวณ" โดยชื่อที่เป็นกรรมสิทธิ์หรือแม้กระทั่งการที่พวกเขาเป็นตอนนี้ เครื่องคิดเลข


Prof.Howard H.Aiken - ฮาวเวิร์ดฮาธาเวย์ Aiken (8 มีนาคม 1900 - 14 มีนาคม 1973) เป็นผู้บุกเบิกใน การคำนวณ การออกแบบแนวคิดเดิมที่อยู่เบื้องหลัง ของไอบีเอ็ม ที่ ฮาร์วาร์ Mark l คอมพิวเตอร์




Dr.John V. Atanasoff & Clifford Berry – ในปี ค.ศ.1942 ดร.จอห์น วี อตานาซอฟฟ์ ( John V. Atanasoff) อาจารย์สาขาฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยไอโอวา ( Iowa State University) ได้ร่วมมือกับลูกศิษย์ของเขาคือ คลิฟฟอร์ด เบอร์รี่ (Clifford Berry) สร้างเครื่องมือที่อาศัยการทำงานของหลอดสุญญากาศเพื่อนำมาช่วยในงานประมวลผลทั่วไป โดยเรียกเครื่องคอมพิวเตอร์นี้ว่า เครื่อง “ABC” (เป็นการตั้งชื่อโดยนำเอาชื่อของทั้งสองมารวมกันคือ Atanasoff และ Berry)

Dr.John W. Manchly & J. Presper Eckert – ดร.จอห์น  ดับบลิว มอชลี และ ศาสตราจารย์เอ็คเคิร์ต ได้สร้างเครื่อง ENIAC จนสำเร็จ โดยมีน้ำหนักมากถึง 30 ตัน ใช้หลอดสุญญากาศกส่า 18,000 หลอด โดยใช้เนื้อที่ในการติดตั้งประมาณ 30x50 ฟุต และใช้กำลังไฟฟ้าประมาณ 160 กิโลวัตต์


Dr.John Von Neumann จอห์น ฟอน นอยมันน์ เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี มีผลงานสำคัญในหลายสาขา ทั้ง ควอนตัมฟิสิกส์ ทฤษฎีเซต วิทยาการคอมพิวเตอร์ เศรษฐศาสตร์ และ จะว่าไปแล้วก็ทุกๆ สาขาในวิชาคณิตศาสตร์ ดร.จอห์น ฟอน นอยมานน์ ได้ค้นพบหลักการจัดการโปรแกรม โดยมีหน่วยความจำที่สามารถจัดเก็บได้ทั้งข้อมูลและโปรแกรม(Data and Instruction) ซึ่งหลักการดังกล่าวก็ได้นำมาใช้งานจนถึงทุกวันนี้


Dr.Ted Hoff – ดร.เทด ฮอฟฟ์ แห่งบริษัทอินเทล
ได้มีการพัฒนาไมโครโ)รเซสเซอร์รุ่น Intel 4004
 




วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดของฉัน

                                
                                        สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดของฉัน       


                                                                                                                   





                                                         แหลมสมิหลา จังหวัดสงขลา

แหลมสมิหลาถือได้ว่าเป็น"ห้องรับแขกธรรมชาติ"สำหรับผู้ที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา เมื่อมาเที่ยวจังหวัดสงขลาแล้วไม่ได้มาถ่ายรูปกับนางเงือกถือได้ว่าท่านยังมาไม่ถึงจังหวัดสงขลาก็ว่าได้











                                                                 สะพานติณสูลานนท์

ประวัติส่วนตัว

                                        
                                             ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บล็อกของ อภิชญา ณ นคร
          • ชื่อ - นางสาวอภิชญา ณ นคร
          • ชื่อเล่น - ฟ้า
          • เกิดวันที่ - 23 กุมภาพันธ์ 2538
          • ติดต่อ - 088-1829466
          • จบการศึกษาจาก - วิทยาลัยอาชีวศึกษาบริหารธุรกิจวิทยาสงขลา
          • ยามว่าง - ดูทีวี , ฟังเพลง , Internet